วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

โครงงานสะเต็มเรื่องขนมลาจากสีธรรมชาติ

กิตติกรรมประกาศ
               
รายงานโครงงานสะเต็ม เรื่องโครงงานขนมลาจากสีธรรมชาติ ประสบความสำเร็จลุล่วงไป   ด้วยความช่วยเหลือและคำแนะนำเป็นอย่างดีจาก ครูกัลยาณี สุดทองคง และ
 คุณครู ปรัชญาพร  อนุรักษ์ ครูที่ปรึกษา ที่ได้ให้คำแนะนำต่างๆในการทำโครงงานให้ถูกต้องตามหลักการข้อบกพร่อง ให้ความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่างๆ ที่มีคุณค่าเกี่ยวกับเอกสารประกอบการทำโครงงาน และขอขอบคุณนางเพ็ญ  จันทร์เพ็ญ ที่ได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาการขนมลาจากสีธรรมชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาครั้งนี้
                ขอขอบใจเพื่อนนักเรียนโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 ทุกคนที่ได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างดียิ่ง ทำให้การรายงานครั้งนี้บรรลุไปได้ด้วยดี

                                                                                                                                คณะผู้จัดทำ


 ชื่อเอกสารโครงงาน            โครงงานขนมลาจากสีธรรมชาติ
ชื่อผู้จัดทำ   เด็กชายชนาธิป  จันทร์เพ็ญ, เด็กชายสิรวิชญ์ ลอยเลื่อน, เด็กหญิงนาซาเฟีย   นาวี  เด็กหญิงภัทรวดี   ชูแสง
สถานที่  โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16
ปีที่ทำเอกสาร  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ

                เอกสารสรุปโครงงานขนมลาจากสีธรรมชาติ ประสบความสำเร็จนั้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาวิธีการทำขนมลาจากสีธรรมชาติ2) เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นและคนไทยรู้จักขนมลาจากสีธรรมชาติมากขึ้น 3) เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานขนมลาซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของภาคใต้กลุ่มประชากรที่ใช้ในการรายงานเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 จำนวน 45 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
            เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานโครงงานครั้งนี้เป็นแบบสำรวจความพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อขนมลาจากสีธรรมชาติ
                ผลการศึกษาพบว่า
                1) กลุ่มประชากรมีความพึงพอใจต่อรสชาติของขนมลาอยู่ในระดับดีมาก

 สารบัญ


หน้า
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
สารบัญ
สารบัญรูปภาพ
สารบัญตาราง
บทนำ
1
             ที่มาและความสำคัญ
1
             วัตถุประสงค์
1
            สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า
1
            ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
1
            ขอบเขตของการศึกษา
2
            นิยามศัพท์เฉพาะ
2
2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            ประวัติขนมลา
3
            ความเชื่อและภูมิปัญญาเกี่ยวกับขนมลา
3
            ประวัติของสีธรรมชาติ
5
            คุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้อง
6
3  วิธีการดำเนินการศึกษา

            เครื่องปรุงในการทำขนมลา
7
            วัสดุอุปกรณ์ในการทำขนมลา
7
            วิธีการทำขนมลา
7
4   ผลการศึกษา
8
5   สรุปและอภิปรายผลการศึกษา          

            สรุปผลการศึกษา
9
            ประโยชน์จากการทำโครงงาน
9
            ข้อเสนอแนะ
9

สารบัญรูปภาพ

รูปภาพที่                                                                                                                       หน้า                                                                                                 
1              ดอกอัญชัน                                                                                                                                                  5
2              ใบเตย                                                                                                                                                           6
3              วัสดุอุปกรณ์ในการทำขนมลา                                                                                                                 10
4              แป้งที่เตรียมผสมกับน้ำสมุนไพร                                                                                                           11
5              การคั้นน้ำสมุนไพร                                                                                                                                   11
6              นำน้ำสมุนไพรมาผสมกับแป้ง                                                                                                                11
7              การโรยขนมลา                                                                                                                                          12
8              การเขี่ยขนมลา                                                                                                                                           12
  
                                                                                     สารบัญตาราง
ตารางที่                                                                                                                         หน้า
            ตาราง1 . การเปรียบเทียบขนมลา                                                                                                            13
บทที่ 1
บทนำ

                เนื่องจากปัจจุบันมีขนมกรุบกรอบเข้ามามากในประเทศไทย ทำให้คนไทยไม่นิยมขนมดั้งเดิมของตนเอง โดยเฉพาะวัยรุ่นมีค่านิยมผิดๆคิดว่าการกินขนมกรุบกรอบ จะดูดีมีรสนิยมมากกว่าอีกทั้งขนมกรุบกรอบถือเป็นขนมที่หากินง่ายตามท้องตลาด  โดยไม่คำนึงถึงโทษ สารเคมีที่ได้รับ  ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มจึงเห็นว่าขนมลาเป็นขนมไทย อีกชิดหนึ่งที่ต้องได้รับการสืบสานอนุรักษ์ ให้กับคนรุ่นหลังได้รู้จัก ซึ่งจริงๆแล้วขนมลามีขั้นตอนการทำที่ประณีตและโดดเด่นซึ่งขนมลา เป็นขนมที่มีมานาน  แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจทั้งที่เป็นขนมที่อร่อยและทำไม่ยาก ซึ่งอุปกรณ์ในการทำส่วนใหญ่ทำมาจากธรรมชาติ  โดยจุดเด่นของทางกลุ่มได้ใช้สีธรรมชาติเป็นวัตถุดิบสำคัญของการทำ              ขนมลา สีธรรมชาติ มีคุณค่าทางสารอาหารมากกว่าแป้งที่ใช้อยู่เดิม และอุปกรณ์ก็สามารถหาได้ตามท้องถิ่น การทำก็ใช้งบประมาณไม่มากและถ้าจะทำเป็นอาชีพในครัวเรือนเพื่อส่งเสริมรายได้อีกอาชีพหนึ่ง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาวิธีการทำขนมลาจากสมุนไพรจากธรรมชาติ
2. เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นและคนไทยรู้จักขนมลาจากสมุนไพรธรรมชาติมากขึ้น
3. เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานขนมลาซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของภาคใต้

สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า
                ขนมลาที่ทำจากสมุนไพรธรรมชาติ จะมีความหอม หวาน สีสันสดใสกว่าขนมลาที่ทำจากแป้งธรรมดาที่ไม่มีสี

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น
                ชนิดของข้าวที่ใช้ทำแป้งของขนมลา
ตัวแปรตาม
                ขนมลาที่ทำจากสีธรรมชาติมีความหอม หวาน นุ่ม

ตัวแปรควบคุม
                ชนิดของข้าวที่ใช้ทำขนมลา

ขอบเขตของการศึกษา
                ศึกษาการทำขนมลาจากสมุนไพรธรรมชาติ

นิยามศัพท์เฉพาะ
                ขนมลา คือ  เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ที่มีมานาน ใช้ในประเพณีสารทเดือนสิบ
               
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มผู้ทำโครงงานได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้  โดยแบ่งการศึกษาดังนี้
                1.  ประวัติของขนมลา
                2.  ความเชื่อและภูมิปัญญาเกี่ยวกับขนมลา
                3.  ประวัติของอัญชัน
                3. ใบเตย

1.  ประวัติของขนมลา
                ขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดในภาคใต้ ประจำจังหวัด สงขลา โดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ขนมลาปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า
                ปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา ขนมลามี 2 ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา เมื่อสุกพับเป็นครึ่งวงกลม รูปร่างเหมือนแห ลากรอบ นำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่ โดยเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อแป้งสุกแล้วม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก
                ณรงค์ บุญสวยขวัญ ได้กล่าวประวัติความเป็นมาของการทําขนมลา ไว้ในหนังสือ “เดือนสิบ”41 ว่า “ขนมลา” เป็นส่วนประกอบหลักของงานเทศกาลบุญสารทเดือนสิบ มีความสำคัญมากในแง่ของพิธีกรรม กล่าวคือ ลาเป็นขนมสําคัญที่ขาดไม่ได้ในการยกหฺมฺรับ เชื่อกันว่า ขนมลามีแหล่งกําเนิดจากลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งมีเหตุผลพอจะสนับสนุนความเชื่อดังกล่าวไว้ดังนี้ ประการที่หนึ่ง วัตถุดิบที่นํามาทําขนมต่างๆ สาหรับใช้ในงานทําบุญเดือนสิบ ส่วนใหญ่เป็นแป้งที่ทำจากข้าวเจ้า โดยเฉพาะขนมลา ซึ่งต้องใช้ข้าวสารมาโม่เป็นแป้งในปริมาณมาก และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนังเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวมากที่สุด จึงมีข้าวมากพอที่จะนํามาทําขนมลาได้โดยไม่ยากลําบาก

2. ความเชื่อและภูมิปัญญาเกี่ยวกับขนมลา 
ความเชื่อเกี่ยวกับการทำขนมลา นอกจากเพื่อการนำไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วและนำไปแจกจ่ายให้กับผู้เฒ่าผู้แก่ที่ตนเคารพนับถือแล้ว   ยังเหลือเก็บไว้เป็นอาหารในยามที่ไปทำนา เพราะในช่วงฤดูการทำนาเป็นช่วงฤดูฝนการประกอบอาหารทำได้ลำบากเพราะในอดีต ในการประกอบอาหารต้องใช้ไม้ฟืนในการประกอบอาหาร ในฤดูฝนไม้ฟืนจะชื้นก่อไฟติดยากต้องเสียเวลาในการปรุงอาหาร ประกอบกับไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเนื่องจากทุกคนในบ้านต้องไปช่วยกันทำนากันหมด ก็ใช้ขนมลานี่แหละกินประทังความหิวไปก่อนได้จนกว่าจะเสร็จภารกิจมาประกอบอาหารทานได้ และการที่คนนำขนมลาไปทำบุญที่วัดมากๆ ทางวัดได้เก็บขนมลาเหล่านั้นไว้ถวายพระได้เช่นกัน ในการถนอมอาหารไว้กินนานนั้นใช้วิธีการ โดยการนำขนมลามาม้วนให้กลมแล้วใช้น้ำผึ้งหรือน้ำตาลราดลงไปเก็บใส่โอ่งหรือถังไว้ สามารถเก็บไว้ได้นานตลอดฤดูฝน หรือตลอดปีได้ ซึ่งเรียกว่า “ลาอับ”หรือ”ลาพับ” หรือในบางแห่งการใช้น้ำตาลทรายละเอียดโรยให้ทั่วแผ่นขนมลาแล้วม้วนเก็บก็ได้ หรือนำไปตากแดดให้กรอบก่อนแล้วจึงเก็บ นำมาทานใหม่จะอร่อยมาก และหวานจัด ใช้ทานแทนขนมหวานได้ดีทีเดียว
                จากคำบอกกล่าวของชาวบ้านผู้เกี่ยวข้องกับความเชื่อและภูมิปัญญาเรื่องขนมลา  ของชุมชนบ้านป่าพาด  หมู่ที่  17  ต.  ละอาย อ.  ฉวาง จ.  นครศรีธรรมราช  ทำให้ทราบว่า  ความเชื่อและภูมิปัญญาเรื่องขนมลาของชาวชุมชนบ้านป่าพาดนั้น  ไม่ได้มีข้อแตกต่างไปจากชุมชนอื่น ๆ  ในภาคใต้  เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ในเรื่องเดียวกัน  คือ  " ความรัก ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ   และความสามัคคีปรองดองกัน  การประกอบพิธีกรรมบุญสารทเดือนสิบ  ที่ทำขึ้นทุกปีเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว  โดยเชื่อว่าขนมลา  ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณ  เครื่องนุ่งห่ม  ใช้เป็นเสื้อผ้า  ซึ่งขนมลานี้ก็เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในบรรดาขนม  5  ชนิดที่นำมาใช้ในการจัด หมฺรับ  จากความเชื่อดังกล่าวนั้นเมื่อถึงวันทำบุญเดือนสิบ ชาวนครศรีธรรมราชไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ส่วนใหญ่จะเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อทำบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว  และจัดอาหารคาวหวานรวมทั้งสิ่งของให้ผู้มีพระคุณที่ยังมีชีวิตอยู่  รวมถึงฤดูฝนในภาคใต้จะเริ่มขึ้นในปลายเดือนสิบ  ชาวบ้านส่วนมากจึงถือโอกาสทำบุญ  เริ่มต้นในการทำการเกษตรในฤดูกาลที่กำลังจะมาถึง  เพราะเชื่อว่าเป็นการเริ่มต้นที่เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว  อีกทั้งยังเป็นการจัดเสบียงอาหารนำไปถวายพระในรูปของหมฺรับ  ให้ทางวัดได้เก็บรักษาเป็นเสบียง  สำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน  นี่คือกุศโลบายที่ถูกแฝงไว้ในพิธีกรรมและความเชื่อของคนรุ่นเก่าก่อนและถูกนำมาถ่ายทอดเพื่อเป็นคำสอนให้แก่อนุชนรุ่นหลังถึงการแสดงความกตัญญูกตเวทีของชาวชาวภาคใต้โดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช 
              จากการทำขนมลาแบบดั้งเดิมเพื่อประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อในพิธีบุญสารทเดือนสิบ  ในปัจจุบันยังมีการต่อยอดทางความคิด  โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถนอมอาหาร  ทำเป็นขนมลากรอบเพื่อสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริม
ลากรอบเพื่อสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมอาชีพตามโครงการ  “หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์”  (OTOP)  เพื่อขยายโอกาสในการจัดจำหน่ายอีกทางหนึ่ง

3.  ประวัติของอัญชัน

อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว[2] ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด


 
                                                                                    ภาพที่ 1ดอกอัญชัน
ที่มา : https://treatthai.com/wp-content/uploads/2017/11/%

ประโยชน์ของอัญชัน

1.ดอก ใช้ปลูกผมทำให้ผมดกดำ เงางามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที “แอนโทไซยานิน” ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีมากขึ้น 
2.ดอก นำมาคั้นนำใช้หุงข้าวได้ด้วย ช่วยให้ข้าวที่หุงมีสีสันที่สวยงาม
3.เมล็ด เป็นยาระบาย
4.ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา
4.  ใบเตย 
เตยหอม เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีอ่อน ค่อนข้างนิ่ม เป็นมันเผือก ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยสีเขียวจากใบเป็นสีของคลอโรฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้
ประโยชน์ของใบเตย
1.ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ (น้ำใบเตย)
2.การดื่มน้ำใบเตยจะช่วยดับกระหายคลายร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะใบเตยมีกลิ่นหอมเย็น ดื่มแล้วจึงรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย
3.รสหวานเย็นของใบเตยช่วยชูกำลังได้
4.การดื่มน้ำใบเตยช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกายได้
5.ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
6.ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟนั้น การรับประทานอาหารที่ปรุงจากใบเตยจะช่วยทำให้รู้สึกเย็นสบายสดชื่นได้
7.ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความดันโลหิต (สารสกัดน้ำจากใบเตย)
8.ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
9.ช่วยบรรเทาอาการอาการและดับพิษไข้ได้



                                                                                     ภาพที่ 2 :  .ใบเตย
ที่มา : http://halsat.com/wp-content/uploads/2016/12/%E0%

บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา

โครงงานขนมลาจากสมุนไพรสีธรรมชาติผู้จัดทำได้ดำเนินการดังรายละเอียดดังนี้
1.              ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.              เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3.              การสร้างและการหาคุณภาพ
4.              แบบการทดลอง
5.              สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
6.              วิธีการดำเนินการศึกษา

1ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                ประชากรที่ใช้ในการทดลอง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/ประจำปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา จำนวน 45 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
2เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้สร้างเครื่องมือเป็นแบบประเมินความพึงพอใจเรื่องขนมลาจากสีธรรมชาติ  ซึ่งเป็นแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
5 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจในการใช้มากที่สุด
4 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจในการใช้มาก
3 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจในการใช้ปานกลาง
2 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจในการใช้น้อย
1 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจในการใช้น้อยที่สุด



3การสร้างและการหาคุณภาพ
            ผู้ศึกษาได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือดังนี้
1.              คิดค้นนวัตกรรม
2.              หาข้อมูลของการสร้างโครงงานสะเต็มเรื่องขนมลาจากสมุนไพรสีธรรมชาติ
3.              ทดลองตามแผนที่ได้กำหนดไว้
4.              หากผลการทดลองไม่เป็นไปตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้ จึงมีการค้นคว้าเพิ่มเติมและทดลองจนกว่าได้ผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการแล้วนำผลิตภัณฑ์ไปประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภค
4แบบการทดลอง
                 
                การทดลองครั้งที่ 1   ผู้ศึกษาได้ผลิต ตัวผลิตภัณฑ์ขึ้นโดยใช้วัสดุ อุปกรณ์และทำตามขั้นตอนเหมือนเดิม ปรากฏว่า ขนมลามีสีอ่อนมาก  และไม่มีกลิ่นหอม  และยังแข็งอีกด้วย
                การทดลองครั้งที่ 2  ผู้ศึกษาได้คิดค้นและเพิ่มสูตรการทำขนมลาจากสีธรรมชาติ โดยเน้นไข่เพื่อให้ขนมลานิ่มขึ้น และสีของธรรมชาติเพื่อให้สีเข้มขึ้นจะได้ดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น
                 
 5สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ค่าเฉลี่ย (Mean)
           สูตร                       

เมื่อ                     แทน       คะแนนเฉลี่ย
      แทน       ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
           แทน       จำนวนคนทั้งหมด



วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการทำขนมลาจากสีธรรมชาติ

เครื่องปรุงในการทำขนมลา
                ในการทำขนมลามีคือ
                1. แป้ง ( ใช้ข้าวไร้เบอร์รี่ และแป้งข้าวเจ้า )
                2. น้ำตาลปิ๊ป หรือน้ำตาลทรายหรือน้ำผึ้งจาก
                นอกจากนี้จะมีน้ำมันมะพร้าว และไข่แดง เป็นเครื่องประกอบในการเช็ดกระทะ
              3.น้ำของสมุนไพรที่จะใช้ทำ
วัสดุอุปกรณ์ในการทำขนมลา
                1. เครื่องบดแป้ง
                2 .เครื่องหนีบแป้ง
                3. กระป๋องทอดขนมลา
                4. กะทะทอดขนมลา
                5. ภาชนะใส่แป้ง
                6. เตาแก๊สหรือเตาถ่าน
                7. ผ้ากรองแป้ง
                8. เตาอบแปรรูปขนมลา

วิธีการทำขนมลา แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
                1.การเตรียมแป้ง
                2.การผสมแป้ง
                3.การคั้นน้ำจากสมุนไพร
                4.การผสมน้ำของสมุนไพรให้เข้ากับแป้ง
                5.วิธีการโรยหรือทอด
                6.การม้วนขนมลา
        ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมแป้ง
                การเตรียมแป้ง นำข้าวเจ้ามาผสมกับข้าวเหนียว (ข้าวเจ้า 1 ถัง : ข้าวเหนียว 4 กิโลกรัม)    นำมาซาวให้เข้ากันแล้วนำไปแช่น้ำประมาณ 2 ชั่วโมง เสร็จแล้วล้างให้สะอาด นำมาใส่กระสอบหมักไว้  2 คืน พอครบกำหนดก็ลองบีบเมล็ดข้าวดูว่าเปื่อยร่วนพอที่จะบดได้หรือยัง ถ้าเห็นว่าเปื่อยรวนแล้วหลังจากนั้นก็นำข้าวสารมาล้างให้หมดกลิ่น ถ้าหากหมดกลิ่นและดูว่าสะอาดแล้วก็นำไปวางให้สะเด็ดน้ำ ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำแป้งไปบดให้ละเอียด เสร็จแล้วนำแป้งที่บดแล้วไปกรองด้วยผ้ากรอง 2 ครั้ง เพื่อให้ได้แป้งที่ขาวสะอาดและละเอียด เมื่อกรองเสร็จแล้วก็นำแป้งไปตั้งพักไว้เพื่อให้แป้งตกตะกอน  เมื่อเห็นว่าแป้งตกตะกอนก็เทน้ำใสๆข้างบนทิ้งแล้วนำแป้งที่บรรจุถุงผ้าบางๆผูกให้เรียบร้อยจะได้เป็น รูปวงกลม แล้วนำไปใส่เครื่องหนีบแป้งใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง เมื่อดูว่าแป้งแห้งสนิทแล้วจะมีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาว       

ภาพที่ 3 วัสดุอุปกรณ์ในการทำขนมลา
ขั้นตอนที่ 2 วิธีการผสมแป้ง
นำแป้งที่แห้งแล้วไปตำให้ร่วน แล้วนำแป้งไปตี ใส่น้ำผึ้งจากหรือน้ำเชื่อม (น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลปีบ) ใส่ที่ละนิดตีให้เข้ากันจนดูเป็นเนื้อเดียวกัน แป้งจะมีลักษณะเหลวข้น แล้วลองชิมดูจนเป็นที่ พอใจ

ภาพที่ 4 แป้งที่เตรียมผสมกับน้ำสมุนไพร

ขั้นตอนที่ 3  การคั้นน้ำจากสมุนไพร
นำน้ำสมุนไพรที่จะใช้มาบดค้นให้เหลือแต่น้ำที่มีสีสดใส



                    ภาพที่ 5 การคั้นน้ำสมุนไพร
ขั้นตอนที่ 4. .การผสมน้ำของสมุนไพรให้เข้ากับแป้ง
นำน้ำสมุนไพรที่เตรีมไว้มาผสมกับแป้งที่ที่เราบดไว้ให้เข้ากัน
ภาพที่ 6 นำน้ำสมุนไพรมาผสมกับแป้ง
ขั้นตอนที่ 5 วิธีการโรยหรือทอด
                ในการทอดขนมลาต้องใช้กะทะขนาดใหญ่ เตาไฟใช้ได้ทั้งเตาแก๊สและเตาถ่านแต่การใช้เตาแก๊สสามารถปรับระดับความร้อนได้ดีกว่า เมื่อเตรียมอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำกะทะตั้งบนไฟอ่อนๆ แล้วเอาน้ำมันผสมไข่แดงเช็ดกะทะให้ทั่วแล้วนำแป้งใส่กระป๋องที่เจาะรูที่ก้นเป็นรูเล็กๆจำนวนมาก แล้วนำไป
โรยลงกระทะ
ภาพที่ การโรยขนมลา
ขั้นตอนที่ 6 การม้วนขนมลา
                การม้วนจะต้องใช้ไม้พับขนมลา2ไม้โดยพับขนมลาเกือบถึงครึ่งนึงล้วนำไม้ตั้งล้วม้วนเป็นเกลียวโดยต้องม้วนในกระทะมาตัดเป็นชิ้น
ภาพที่  8 การเขี่ยขนมลา

บทที่  4
ผลการศึกษา

                การศึกษาขนมลาจากสีธรรมชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทำขนมลาจากนำสมุนไพรส่งเสริมให้วัยรุ่นและคนไทยรู้จักขนมลาจากสีธรรมชาติมากขึ้นและเป็นการอนุรักษ์และสืบสานขนมลาซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของภาคใต้ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า สามารถทำขนมลาได้และมีความหอน นุ่ม หวานและสีสันสดใสกว่าขนมลาปกติตอนที่ 1 ผลการทดลองเปรียบเทียบการทำขนมลาโดยใช้สีธรรมชาติโรยงากับข้าวจ้าว
ตอนที่ 1 ผลการทดลองเปรียบเทียบการทำขนมลาโดยใช้สีธรรมชาติโรยงากับข้าวจ้าว
ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบขนมลาสีปกติและขนมลาจากสมุนไพรสีธรรมชาติ

                        ชนิดของขนมลา
                            ผลการทดลอง
ขนมลาปกติ
หอมหวานปกติ
ขนมลาจากสมุนไพร
สีสวย หอมละอร่อยกว่าขนมลาปกติ

ตอนที่ 2 ผลการสำรวจความพอใจของผู้บริโภคต่อขนมลา
1. ทำแบบสำรวจความพึงพอใจต่อขนมลา
                2. สุ่มผู้บริโภคขนมลาจากนักเรียนห้อง ม.2/9 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา  จำนวน 45 คน
                3. ให้นักเรียนกลุ่มทดลองทำแบบสำรวจความพึงพอใจ
                4. นำผลการสำรวจความพึงพอใจ มาจัดรูปแบบการนำเสนอ





บทที่ 5
สรุปอภิปรายผลการศึกษา

สรุปผลการศึกษา
                จากโครงงานขนมลาจากสีธรรมชาติทำให้คณะผู้จัดทำ ได้เรียนรู้วิธีการทำขนมลาจากน้ำสมุนไพร และถือเป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยทางภาคใต้  ซึ่งจากการทดลองการับประทานขนมลาของกลุ่มประชากร โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 จำนวน 45 คน สรุปได้ว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรสชาติของขนมลาจากน้ำสมุนไพร

ประโยชน์จากการทำโครงงาน
1. ได้ศึกษาวิธีการทำขนมลาจากน้ำสมุนไพร
2. ทำให้วัยรุ่นและคนไทยรู้จักขนมลาจากน้ำสมุนไพรมากขึ้น
3. ได้อนุรักษ์และสืบสานขนมลาซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของภาคใต้

ข้อเสนอแนะ
. 1.           โครงงานสะเต็มสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการเรียนรายวิชา  IS 2 และ IS3 เพื่อใช้ในการนำเสนอ












บรรณานุกรม

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.(2555).งา (พืช).สืบค้นเมื่อวันที่ 5ธันวาคม 2560,จากเว็บไซต์https://th. th.wikipedia.org/wiki/งา_(พืช).
ณรงค์  บุญสวยขวัญ. (2556). งานวิจัยเรื่องการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ส.ค.2560,จากเว็บไซต์http//:www.artscultural.ac.th..
วีพีกีเดีย(2547).  ประวัติดอกอัญชัน.สืบค้นเมื่อวันที่28 ม.ค.2561,จากเว็บไซต์
              https://th.wikipedia.org/wiki/
Joon pa.(2014).งา.สืบค้นเมื่อวันที่ 5ธันวาคม 2560,จากเว็บไซต์http://bewty-drink.blogspot.com
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) www.gotoknow.org (2549).
สืบค้นเมื่อ28มกราคม  2561,

















                                                                                 
 


  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น